ผู้สูงอายุนอนไม่หลับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับวัยนี้การนอนหลับเป็นสิ่งที่ทุกเพศทุกวัยควรจะให้ความสำคัญ เนื่องจากการนอนหลับจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่อาการนอนไม่หลับผู้สูงอายุสามารถพบได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุในประเทศไทย ซึ่งการที่
ผู้สูงอายุนอนไม่หลับเป็นสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวควรจะใส่ใจให้มากยิ่งขึ้น โดยการนอนไม่หลับผู้สูงอายุมีหลายสาเหตุ ดังนี้
1. การทำงานของร่างกายที่ลดน้อยลงเนื่องจากอายุที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่ออายุของมนุษย์ทุกคนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสมองและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย โดยแสดงเป็นอาการนอนไม่หลับผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะมีอาการ ได้แก่
- ทำให้การนอนหลับในช่วงกลางคืนลดน้อยลง
- เข้านอนเร็วและตื่นกลางดึก
- นอนหลับได้ยากมากยิ่งขึ้น
- หลับ ๆ ตื่น ๆ
- นอนหลับไม่สนิท
ซึ่งครอบครัวสามารถสังเกตอาการผู้สูงอายุนอนไม่หลับ โดยเป็นการสังเกตช่วงเวลาระหว่างวันว่าผู้สูงอายุนั้นมีอาการง่วงนอนระหว่างวันหรือไม่ หากไม่มีแสดงว่าผู้สูงอายุได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอในช่วงเวลากลางคืน
โรคประจำตัวที่สามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับอาการของโรคประจำตัวบางอย่างสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนได้ ไม่ว่าจะเป็นต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก การที่ทำให้นอนหลับสนิทได้ยากมากยิ่งขึ้น และการที่มีอาการปวดข้อหรือกระดูกตลอดเวลา ได้แก่
- ต่อมลูกหมากโต
- โรคเบาหวาน
- โรคปวดข้อ
- โรคกรดไหลย้อน
การรับประทานยาบางชนิดการรับประทานยาบางชนิดก็อาจจะทำให้มีอาการนอนไม่หลับผู้สูงอายุ เนื่องจากยาได้ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ไม่ว่าจะเป็นยาที่รักษาโรคพาร์คินสัน ยารักษาโรคไทรอยด์ ยารักษาโรคชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า รวมทั้งยารักษาโรคสมองเสื่อม
ปัญหาสุขภาพจิตปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะกระทบกับการนอนหลับในช่วงเวลากลางคืนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ โดยในหนึ่งวันผู้สูงอายุจะมีหลายอารมณ์ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกมีความสุข ความรู้สึกอยากจะร้องไห้ ซึ่งอาการทั้งหมดจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย นอกจากนี้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับจะตื่นประมาณตี 3-4 และไม่สามารถนอนหลับต่อได้
การแก้ปัญหาการนอนไม่หลับผู้สูงอายุปัญหาการที่
ผู้สูงอายุนอนไม่หลับทุกคนในครอบครัวควรที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหา เนื่องจากอาการนอนไม่หลับจะส่งผลต่อร่างกายของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก โดยอาจจะเริ่มต้นสังเกตอาการว่านอนไม่หลับเพราะสาเหตุใด หากเป็นเพราะอาการวิตกกังวลก็ให้จัดการกับความวิตกกังวลเหล่านั้นก็จะสามารถนอนหลับได้อย่างสนิท นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ช่วยเหลือปัญหาผู้สูงอายุนอนไม่หลับได้ ดังนี้
- พยายามให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการนอนระหว่างวัน
- พยายามจำกัดชั่วโมงการนอนกลางวัน โดยไม่ควรเกิด 30 นาที ในช่วงบ่าย
- พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งไม่ควรดื่มในช่วงเย็น
- พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำในปริมาณมากช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนนอน ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาปัสสาวะบ่อยในช่วงเวลากลางคืน
- พยายามให้ผู้สูงอายุได้หากิจกรรมทำหากไม่สามารถนอนหลับได้เมื่อถึงเวลาเข้านอน
- พยายามกำหนดเวลาอาหารเย็นให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ
- พยายามให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงในมื้อเย็น
- พยายามจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องนอนให้เงียบ มืดสนิท ไม่ร้อน และไม่หนาวมากจนเกินไป
- พยายามให้ผู้สูงอายุได้ทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบมากยิ่งขึ้น
การใช้ยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการนอนหลับสามารถนอนหลับในช่วงเวลากลางคืนได้สนิทมากยิ่งขึ้น โดยการใช้ยานอนหลับนั้นควรอยู่ภายใต้การดูและควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะไม่ค่อยแนะนำให้ผู้สูงอายุใช้ยานอนหลับ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาหากใช้ยานอนหลับที่ไม่ได้รับการควบคุมโดยแพทย์
ปัญหานอนไม่หลับผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่ทุกคนในครอบครัวควรที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุ เนื่องจากอาการนอนไม่หลับผู้สูงอายุส่งผลกระทบกับร่างกายของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อีกทั้งการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุนอนไม่หลับสามารถเริ่มได้ง่าย ๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยานอนหลับ