ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ซาร์ส (SARS)  (อ่าน 15 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 932
  • แจกเวบลงประกาศฟรี, ลงประกาศฟรีออนไลน์ ,โพสฟรี, โพสต์ขายของฟรี
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ซาร์ส (SARS)
« เมื่อ: วันที่ 30 กันยายน 2024, 23:16:45 น. »
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ซาร์ส (SARS)

ซาร์ส หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง* (severe acute respiratory syndrome/SARS) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ที่พบระบาดในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2546 พบมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 8,098 ราย จาก 26 ประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิต 774 ราย ส่วนใหญ่พบระบาดในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน แคนาดา เวียดนาม และสิงคโปร์

ในการระบาดใหญ่ทั่วโลกในครั้งนั้น ได้มีมาตรการควบคุมโรคอย่างได้ผล และปลอดจากผู้ป่วยรายใหม่มาจนถึงปัจจุบัน

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย และมักมีความรุนแรงในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือมีภูมิต้านทานโรคต่ำ

*มีชื่อเรียกอื่น เช่น ไข้หวัดมรณะ ปอดบวมมรณะ ปอดอักเสบนอกแบบ (atypical pneumonia)

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสตัวใหม่ซึ่งอยู่ในตระกูลไวรัสโคโรนา (coronaviruses) ไวรัสตระกูลนี้มีอยู่หลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่เคยพบในคนนั้นเป็นต้นเหตุของการเกิดไข้หวัดที่ไม่รุนแรง ส่วนสายพันธุ์ที่เคยพบในสัตว์ (สุนัข แมว หมู หนู นก) นั้นอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ตับ ลำไส้ของสัตว์เหล่านี้

ส่วนเชื้อไวรัสตัวใหม่นี้เป็นเชื้อที่กลายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เชื่อว่าแพร่มาจากสัตว์ป่าบางชนิด (ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นชนิดใด) นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อเชื้อนี้ว่า ไวรัสโคโรนาสัมพันธ์กับซาร์ส (SARS-associated corona-virus/SARS-CoV) เรียกสั้น ๆ ว่า ไวรัสซาร์ส เชื้อชนิดนี้พบก่อโรคครั้งแรกที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน แล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก

การแพร่เชื้อ จากลักษณะการติดต่อของโรคที่พบ แพร่กระจายเฉพาะในหมู่คนที่อยู่สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด เช่น แพทย์ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย ญาติมิตรที่อยู่ในบ้านหรือห้องเดียวกันกับผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ด้วยกันในห้องแคบ (เช่น ลิฟต์) เป็นต้น ทำให้สันนิษฐานว่า เชื้อไวรัสซาร์สแพร่กระจายทางละอองเสมหะขนาดใหญ่ (droplet transmission) แบบเดียวกับไข้หวัด กล่าวคือ โดยการไอจามรดใส่กันตรง ๆ ภายในระยะไม่เกิน 3 ฟุต (ประมาณ 1 เมตร) และโดยการสัมผัสมือ หรือสิ่งปนเปื้อนละอองเสมหะของผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น (เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถมีชีวิตอยู่บนสิ่งปนเปื้อนได้นานถึง 3 ชั่วโมง) แล้วเผลอนำนิ้วมือที่เปื้อนละอองเสมหะนั้นเช็ดตา เช็ดจมูก เชื้อโรคก็จะผ่านทางเยื่อเมือกเข้าไปในทางเดินหายใจ

ส่วนการแพร่เชื้อทางอากาศ (airborne transmission) และทางอาหารและน้ำดื่มนั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่ก็ยังไม่สามารถตัดออกไปได้

ระยะแพร่เชื้อ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นตั้งแต่เริ่มมีอาการเป็นไข้ในวันแรก และในวันที่ 4 หลังเป็นไข้จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น ส่วนระยะก่อนและหลังมีอาการนานกี่วันที่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ยังไม่ทราบแน่ชัด เพื่อความปลอดภัยแนะนำว่าผู้ที่หายจากอาการเจ็บป่วยควรแยกตัวนานอีก 10 วัน

ระยะฟักตัว 2-10 วัน (เฉลี่ย 4-6 วัน) บางรายอาจนาน 10-14 วัน

ในการเฝ้าระวังคนที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ เช่น เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค จะต้องรอดูอาการอย่างน้อย 10 วัน เมื่อพบว่าเป็นปกติดีก็ถือว่าไม่ได้ติดเชื้อ

อาการ

แรกเริ่มจะมีอาการไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก เบื่ออาหาร คล้ายไข้หวัดใหญ่ บางรายอาจมีอาการท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอหรือเจ็บหน้าอกร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเป็นหวัด (เช่น จาม มีน้ำมูก)

2-7 วันหลังมีไข้ ผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้ง ๆ ในรายที่เป็นรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดอักเสบ ก็จะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจหอบ หายใจลำบากตามมา อาการรุนแรงมักเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 ของการเจ็บป่วยในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ปอดอักเสบจะค่อย ๆ หายไปเองอย่างช้า ๆ และมักจะหายในสัปดาห์ที่ 3 ของโรค

ส่วนผู้ที่เป็นเล็กน้อย จะมีเพียงอาการไข้อยู่ประมาณ 4-7 วันก็หายไปเองคล้ายอาการไข้ธรรมดา อาจทำให้ไม่นึกถึงโรคนี้

ภาวะแทรกซ้อน

ที่ร้ายแรง ได้แก่ กลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome/ARDS) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ

ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล มีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) และจำเป็นต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้

ไข้ ≥ 38 องศาเซลเซียส และอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ชัดเจน

ในรายที่เป็นรุนแรงอาจพบอาการหายใจหอบ

การใช้เครื่องฟังตรวจปอดมักไม่ได้ยินเสียงผิดปกติชัดเจน

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการตรวจหาร่องรอยของไวรัสซาร์สในเลือด น้ำลาย หรือเสมหะ ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น reverse transcriptase-polymerase chain reaction (RT-PCR), ELISA การแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง (cell culture), microneutralization test เป็นต้น

นอกจากนี้ อาจตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด อาจพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ เอนไซม์ตับ (AST, ALT) สูงกว่าปกติ 2-6 เท่า creatine phosphokinase สูงกว่าปกติ

การเอกซเรย์ปอดอาจพบร่องรอยของปอดอักเสบ

การรักษาโดยแพทย์

ถ้าพบผู้ป่วยมีไข้ และมีประวัติว่าก่อนหน้านี้ภายใน 10 วันได้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่สงสัยเป็นโรคนี้ ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

ถ้าตรวจพบหรือสงสัยเป็นโรคนี้ มักจะต้องรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และแยกตัวไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่น

การรักษา ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโดยจำเพาะ เพียงให้การรักษาตามอาการ ถ้ามีอาการหายใจลำบากก็ใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าจะพ้นขีดอันตราย

ในประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ ได้มีการทดลองให้ยาต้านไวรัส (เช่น interferon, ribovirin, oseltamivir, lopinavir/ritonavir) ร่วมกับยาสเตียรอยด์ และบางรายให้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมอาการปอดอักเสบ วิธีการเหล่านี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิผลของการรักษา

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีไข้หลังจากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือเพิ่งกลับจากการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคซาร์ส ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

การป้องกัน

1. ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดแอลกอฮอล์และบุหรี่ อย่ากินยาชุดหรือยาลูกกลอนที่มีสารสเตียรอยด์

2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ร่วมกับผู้อื่น หรือในที่ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่เพื่อชะเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับมือโดยไม่รู้ตัว หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา แคะจมูก หรือนำนิ้วมือเข้าปาก ใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกับผู้อื่น และอย่าใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น

3. ถ้าหากมีผู้ป่วยซาร์สระบาดภายในประเทศเรา ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้น และถ้ามีคนในบ้านมีอาการไข้ที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดก็ควรรีบพาไปโรงพยาบาล ควรหลีกเลี่ยงการจับมือกับผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ควรสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ หลีกเลี่ยงการใช้ข้าวของเครื่องใช้กับผู้ป่วย ควรนอนแยกห้องกับผู้ป่วย เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศภายในบ้านถ่ายเทได้สะดวก ทำความสะอาดบ้าน เครื่องเรือน เครื่องใช้ โทรศัพท์ อย่างน้อยวันละครั้งด้วยผ้าชุบน้ำสบู่หรือผงซักฟอก

ป้องกันโรคซาร์สด้วยการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัย

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้มีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งจะหายได้เป็นปกติภายใน 2-3 สัปดาห์

ประมาณร้อยละ 10-20 จะมีอาการหนัก คือ หายใจลำบาก ซึ่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประคับประคองจนกว่าจะพ้นขีดอันตราย กลุ่มนี้มักจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนาน 2-3 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย

ประมาณร้อยละ 10 จะเสียชีวิต กลุ่มนี้มักมีอายุมากกว่า 40 ปี หรือมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ พบว่าเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปีที่เป็นโรคซาร์สมักจะเป็นไม่รุนแรงและหายได้เอง ส่วนผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปีมีอัตราตายถึงร้อยละ 50

2. ในช่วงที่มีการระบาดของโรคนี้ ผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 10 วัน ถ้าเป็นไปได้ควรวัดไข้ด้วยปรอททุกวัน ถ้าพบว่ามีไข้ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

3. แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยซาร์ส จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด (เช่น สวมถุงมือ ใส่เสื้อกาวน์ ใส่แว่นตาป้องกันการติดเชื้อ หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่) เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้ป่วยอย่างมาก

4. ถึงแม้ในปัจจุบันไม่มีรายงานการเกิดผู้ป่วยซาร์สรายใหม่มานานหลายปี แต่ควรติดตามเฝ้าระวัง หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นใหม่จะได้ระมัดระวังหาทางป้องกันไม่ให้เป็นโรคร้ายแรงชนิดนี้

 
























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า