ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: 7 โรคกลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 มีอะไรบ้าง ทำไมป่วยแล้วเสี  (อ่าน 121 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 974
  • แจกเวบลงประกาศฟรี, ลงประกาศฟรีออนไลน์ ,โพสฟรี, โพสต์ขายของฟรี
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: 7 โรคกลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 มีอะไรบ้าง ทำไมป่วยแล้วเสี่ยงอาการหนัก !

ถ้าติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง คงทราบว่ากลุ่มผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มีจำนวนไม่น้อยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุขต้องแนะนำให้บุคคลที่อยู่ใน 7 โรคกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยเร็ว เพื่อป้องกันอาการป่วยหนักและลดอัตราการเสียชีวิต ส่วนจะมีโรคอะไรบ้าง และทำไมทั้ง 7 โรคถึงมีความเสี่ยงสูงหากติดโควิด 19 มาทำความเข้าใจกัน

โรคกลุ่มเสี่ยง


1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

           ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดอักเสบเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง, โรคซิสติกไฟโบรซิส รวมทั้งผู้ป่วยโรคหอบหืดระดับปานกลางถึงรุนแรง
ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด

เพราะเชื้อไวรัสโคโรนาจะเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจและลงไปทำลายปอด ซึ่งจะทำให้เนื้อปอดได้รับความเสียหาย และเนื่องจากปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอยู่แล้ว ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังจะมีอาการรุนแรงขึ้นได้ เช่นเดียวกับโรคหอบหืดที่เชื้อจะทำให้อาการกำเริบและกระตุ้นให้อาการหนักขึ้น


2. โรคหัวใจและหลอดเลือด

          ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ล้วนมีความเสี่ยงหากติดโควิด 19
ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด
           โดยปกติผู้ป่วยจะมีกล้ามเนื้อหัวใจที่บีบตัวผิดปกติอยู่แล้ว หากติดโควิดและเชื้อลงปอดจะทำให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เท่าเดิม ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น จนเสี่ยงเกิดเยื่อบุหลอดเลือดอักเสบ หรือมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูงขึ้นจากระดับออกซิเจนในเลือดที่ลดลง ถ้าติดเชื้อรุนแรงจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจแย่ลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีอาการหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลวได้

ต้องรู้อะไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด

          ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ แต่หากมีอาการต่อไปนี้ให้รอจนกว่าอาการจะคงที่ หรือให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาอีกที

    มีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันและอาการยังไม่คงที่ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบชนิดเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลัน ให้รอจนกว่าอาการดีขึ้นและคงที่จึงจะฉีดวัคซีน โดยให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป

    หากรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) ควรจะต้องมีระดับ INR น้อยกว่า 3 สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ และยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน, โคลพิโดเกรล, ทิคาเกรลอล, พราซูเกรล สามารถฉีดวัคซีนได้ ควรใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่า และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน


3. โรคเบาหวาน

          การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ติดโควิดเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานถึง 2 เท่าตัว และมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า 3 เท่าตัว จึงเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยโควิดเสียชีวิตสูงเป็นอันดับต้น ๆ การฉีดวัคซีนป้องกันเป็นการลดความรุนแรงของการติดเชื้อ และลดอัตราการเสียชีวิตได้มากกว่าร้อยละ 90

          โดยปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้ป่วยเบาหวานกว่า 3 ล้านคน รวมทั้งพบในเด็กและเยาวชนด้วย ดังนั้นจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว ทั้งผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด

    ฤทธิ์ของไวรัสจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนและควบคุมได้ยาก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

    ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านไวรัสและเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งสูงขึ้น ซึ่งระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง ไวรัสกระจายตัวได้ง่าย

    เชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้ดีในเลือดที่มีน้ำตาลสูง และทำให้หลอดเลือดบางจนเกิดภาวะปอดบวม ระบบหายใจล้มเหลว

    ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออาการรุนแรง

ต้องรู้อะไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด

    หลังฉีดวัคซีนอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แนะนำให้เจาะน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอภายใน 48 ชั่วโมง หลังฉีดยา


4. โรคอ้วน

          เกณฑ์ของโรคอ้วนคือ มีค่าดัชนีมวลกาย 30 ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม จัดเป็นกลุ่มที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เพราะมีอัตราเสียชีวิตจากการติดโควิดสูงไม่ต่างจากโรคอื่น ๆ
          ทั้งนี้ สามารถเช็กค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของตัวเองได้ โดยใช้สูตร น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร ยกกำลังสอง)

 ดัชนีมวลกาย หาค่า BMI เช็กกันหน่อยไหมคุณอ้วนหรือยัง ?

ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด

    เมื่อร่างกายติดเชื้อไวรัส ปริมาณไขมันในร่างกายที่มากเกินไปทำให้การอักเสบเพิ่มสูงขึ้น

    คนอ้วนมาก ๆ จะมีความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) เนื่องจากไขมันที่สะสมในช่องท้องจะดันกระบังลมขึ้นไปเบียดปอด ส่งผลให้ปอดมีขนาดเล็กลง การขยายตัวของปอดทำได้อย่างจำกัด จึงมีความเสี่ยงสูงขึ้น

    ยากต่อการใส่ท่อช่วยหายใจ และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยก็ทำได้ลำบาก

    ผู้ที่มีภาวะอ้วนมักมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ส่งผลให้อาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว

    คนอ้วนมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ขาได้ง่าย เพราะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย และลิ่มเลือดยังสามารถไปอุดตันที่ปอด สมอง หรือหัวใจ และโควิด 19 มีผลทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีภาวะอ้วนร่วมด้วยจะส่งผลให้อาการลิ่มเลือดอุดตันเกิดความรุนแรงได้มากขึ้น

    คนอ้วนจะมีระดับภูมิคุ้มกันน้อยกว่าปกติ รวมทั้งการตอบสนองต่อวัคซีนและยาที่ใช้รักษาน้อยกว่าคนปกติ


5. โรคไตเรื้อรัง

          ในที่นี้ต้องเป็นผู้ป่วยโรคไตที่อยู่ในระยะ 5 ขึ้นไป หรือไตวายเรื้อรัง รวมทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยรักษาด้วยการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ล้างไตทางช่องท้อง และผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต
ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด
           ผู้ป่วยโรคไตเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อ เนื่องจากไตทำงานผิดปกติ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องฟอกเลือด ล้างไตทางหน้าท้อง หรือได้รับการปลูกถ่ายไต จะมีโอกาสเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 30-40 เพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ต้องรู้อะไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด

หากเป็นผู้ป่วยที่กำลังได้รับยากดภูมิคุ้มกันขนาดสูง ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนฉีดวัคซีน


6. โรคหลอดเลือดสมอง

ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด

           โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก ก็เป็นโรคเสี่ยงที่เมื่อติดโควิด 19 อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเชื้อไวรัสกระตุ้นให้เกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดง่ายกว่าปกติ จึงทำให้มีภาวะหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ต้องรู้อะไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด

          ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถฉีดวัคซีนได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการหรืออาการยังไม่คงที่ จะต้องรอให้อาการดีขึ้นก่อนถึงฉีดวัคซีน

          สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด, ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หากมีผลตรวจระดับการแข็งตัวของเลือด (INR) อยู่ในระดับต่ำกว่า 4.0 ภายใน 1 สัปดาห์ หรืออยู่ในระดับต่ำกว่า 3.0 มาโดยตลอด ไม่จำเป็นต้องหยุดหรือปรับขนาดยาก่อนฉีดวัคซีน สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้ โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก หลังจากฉีดแล้วกดตำแหน่งที่ฉีดไว้นานประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจประคบด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็น


7. โรคมะเร็ง
           
ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เพราะถ้าติดเชื้อแล้วมีโอกาสเป็นโรคที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้นยังมีโอกาสที่จะมีเชื้อค้างในร่างกายนานและก่อให้เกิดไวรัสกลายพันธุ์
ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด

เพราะผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป
ต้องรู้อะไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด

    ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ไม่ได้รับยาต้านมะเร็ง, ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยามุ่งเป้าหรือภูมิคุ้มกันบำบัด สามารถฉีดวัคซีนได้เลย

    ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด หรือกำลังได้รับการผ่าตัด ควรพิจารณารับวัคซีน แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม

    คนไข้มะเร็งระบบเลือดที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ควรฉีดหลังจากรักษาครบ 3 เดือนไปแล้ว และควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษา


ความดันโลหิตสูง อยู่ใน 7 กลุ่มโรคเสี่ยงไหม ?

โรคกลุ่มเสี่ยง

ความดันโลหิตสูงยังไม่ได้จัดอยู่ใน 7 โรคกลุ่มเสี่ยง แต่จากสถิติกลับพบว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคร่วมที่พบได้มากที่สุดในจำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด 19 ดังนั้น หากใครมีภาวะความดันโลหิตสูง แนะนำให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดด้วยเช่นกัน


ทำไมถึงมีอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด

ข้อมูลทางการแพทย์พบว่า เมื่อคนป่วยโรคความดันโลหิตสูงติดโควิด 19 จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ร้อยละ 17 ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ร้อยละ 7 ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ร้อยละ 9 และทำให้เกิดภาวะหัวใจวายในที่สุด นอกจากนี้ผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดีอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ ไตวาย

ต้องรู้อะไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด

    ควบคุมความดันโลหิตของตัวเองไม่ให้เกินเกณฑ์ก่อนฉีดวัคซีน

    ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในภาวะคงที่สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ทันที

    ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอาการยังไม่เสถียร หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น มีความดันโลหิตตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท หรือยังต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ไม่ควรฉีดวัคซีน ต้องควบคุมอาการให้คงที่ก่อนจึงสามารถฉีดได้

    กรณีกินยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ระดับ INR (ค่าการแข็งตัวของเลือด) ไม่ควรเกิน 3 เท่า

ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ควรหยุดยาเองก่อนฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราวเพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ และเมื่อถึงสถานที่ฉีดวัคซีนแล้วควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังรับประทานยาอะไรอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่

 
























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า