จำนำทะเบียน "สินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม" ทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง?อย่างที่ทราบกันแล้วว่าสินเชื่อรถแลกเงินมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบจำนำทะเบียน (โอนเล่ม) และไม่จำนำทะเบียน (ไม่โอนเล่ม) ซึ่งทั้ง 2 แบบมีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง หากเลือกขอสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม จะมีขั้นตอนการจำนำทะเบียนอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
สินเชื่อรถแลกเงิน แบบจำนำทะเบียน
(โอนเล่ม) สินเชื่อรถแลกเงิน แบบไม่จำนำทะเบียน
(ไม่โอนเล่ม)
ต้องใช้ทะเบียนรถเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
ต้องโอนเล่มทะเบียนรถฉบับจริงให้กับผู้ให้บริการสินเชื่อ โดยในสมุดทะเบียนรถ จะถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอกู้สินเชื่อ โดยต้องดำเนินการกับสำนักงานขนส่งทางบก
เมื่อผ่อนชำระสินเชื่อหมดสามารถโอนกรรมสิทธิ์รถคืนมาได้
ต้องใช้ทะเบียนรถของตนเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ
เป็นเพียงการนำเล่มทะเบียนมาฝากไว้กับผู้ให้บริการสินเชื่อ โดยจะทำเป็นเอกสารโอนลอย เพื่อไว้ใช้เป็นหลักประกันในการขอกู้สินเชื่อเท่านั้น
ชื่อบนสมุดทะเบียนรถยังเป็นชื่อของผู้กู้ไม่มีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รถแต่อย่างใด
เมื่อผ่อนชำระสินเชื่อหมดก็สามารถรับเล่มทะเบียนรถคืนได้
หากเลือกสินเชื่อรถแลกเงินแบบจํานําทะเบียนรถ หรือแบบโอนเล่มทะเบียน จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ตามไปดู...
เอกสารที่ต้องใช้กรณีเลือกขอสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่มทะเบียน
หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานอื่นๆ ได้แก่ พินัยกรรม คำสั่งศาล แต่งตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น
หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถซึ่งลงลายมือชื่อผู้ประกอบการขนส่ง และผู้ถือกรรมสิทธิ์แล้ว
หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
ขั้นตอนการดำเนินการ
ยื่นแบบคำขอโอนและรับโอน (ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ซึ่งมีการกรอกข้อความและ ลงนามในคำขอแล้วพร้อมหลักฐาน แล้วนำรถเข้าตรวจสอบยังตรวจสภาพรถ)
ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ.11 ของผู้รับโอน
ทำการชำระค่าธรรมเนียม
บันทึกรายการทางทะเบียนรถ
รับหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถคืน
ตัวอย่างเอกสารแบบคำขอโอนและรับโอนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ของกรมการขนส่งทางบก
ปิดท้ายกันด้วยข้อดี-ข้อควรระวังของการของสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม หรือจำนำทะเบียน ว่าหากตัดสินใจเลือกสินเชื่อประเภทนี้แล้วจะมีข้อดี และข้อควรระวังอะไรบ้าง
ข้อดีของสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม ข้อควรระวังของสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม
อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าแบบไม่โอนเล่ม เพราะมีหลักประกันที่แน่นอน (โอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ให้บริการสินเชื่อ)
ได้วงเงินสูงกว่า
ต้องไปดำเนินการโอนเล่มทะเบียนที่สำนักงานขนส่งทางบก และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนรถ ค่าอากร เพิ่มเติม
ใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่า ประมาณ 7- 15 วัน
ได้ข้อมูลกันไปครบถ้วนแล้ว หากใครที่กำลังคิดจะขอสินเชื่อรถแลกเงินอยู่ เตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วไปติดต่อบริษัท หรือสถาบันการเงินที่ให้บริการได้เลยนะคะ เอกสารพร้อม รถพร้อม ประวัติการเงินพร้อม ก็เตรียมรอรับเงินได้เลยค่ะ